วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส http://niksofea.siam2web.com/

ประวัติอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่  ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง 

ส่วนที่สำคัญที่สุดของอินเตอร์เน็ตก็คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลัง หรือแกนหลัก (Backbone) ของระบบ ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างโหนด (Node) ต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญเรียกว่าinternet backbone
เราเทอร์ (Router)? ศูนย์กลางระบบเครือข่ายที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ NSFnet ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ในประเทศสหรัฐอเมริกา 

ต่อมา NSFnet ได้ปรับปรุงโครงสร้างของระบบเครือข่ายใหม่ และใช้ชื่อใหม่ว่า NAPs (Network Access Points) โดยมีศูนย์บริการความเร็วสูงชื่อ vBNS (very high speed Backbone Network Service) ผสมผสานกับอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีของ ATM (Asynchronous Transfer Mode) ผ่านเส้นใยนำแสง ปัจจุบัน NAPs ยังคงพัฒนาไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีแนวโน้มในการ
พัฒนาเป็นระบบ MBONE (Multicasting Bone) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารแบบ Real Time (เวลาจริง) เพื่อสามารถรองรับสัญญาณเสียง วีดิทัศน์ และระบบประชุมทางไกลด้วยภาพ
(Video Conference System)
อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลก และมีข้อมูลจำนวนมากที่เราสามารถค้นคว้าและรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ อินเตอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสารไร้พรมแดนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งพอสรุปบริการต่าง ๆ ที่สามารถเรียกใช้บนอินเตอร์เน็ตได้ดังนี้
 อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม 

 อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้

 สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ  

                สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไป ที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers)

  

 


 

World Wide Web (WWW หรือ Web) เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย โดยใช้วิธีการแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลแอนท์ / เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) โดยอาศัยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะแสดงเป็นแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ทำให้สามารถผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง

 

?FTP (File Transfer Protocol) เป็นบริการการโอนย้ายข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ 1. การดาวน์โหลด (Downloading) เป็นการโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ 2. การอัพโหลด (Uploading) เป็นการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยัง FTP Server

 

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ Email) เป็นบริการส่งจดหมายที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ผู้ใช้สามารถส่งข้อความพร้อมแนบไฟล์ภาพ หรือเสียง หรือไฟล์ข้อมูลใด ๆ ไปกับจดหมายได้ด้วย ปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมากให้บริการรับ-ส่งจดหมายฟรี

 

Gopher เป็นบริการช่วยค้นหาข้อมูลในรูปแบบข้อความล้วนๆ (Text) ซึ่งทำงานแบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server) โดยเครื่องลูกข่ายที่ต้องการค้นหาข้อมูลจะส่งคำร้องขอไปยังเครื่องแม่ข่าย เมื่อเครื่องแม่ข่ายค้นหาพบก็จะส่งข้อมูลกลับมา

 

องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า
Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ

เช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ

  1.  
    1.  
      1. Internet Engineering Task Force หรือ IETF
      2. Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนดรายละเอียด
        เกี่ยวกับโพรโตคอล
        และมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

 ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP)
        ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet,
Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

  1. ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
  2. ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
  3. มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
  4. เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
  5. โมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
  6. ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการท
    ี่ได้รับหรือไม่
  7. บริการเสริมต่าง ๆ

สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

  1.  
    1.  
      1. User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
      2. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
      3. แผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์
      4. คู่มือการใช้งาน

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ

 

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
    • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
    • หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
    • ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes

 

      2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)

3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว

 

ซอฟท์แวร์ที่จำเป็นสำหรับใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ต

 

  1.  
    1. โปรแกรมระบบปฎิบัติการ?(Operating System)?เป็นโปรแกรมที่สำคัญมากสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพราะจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้ทำงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน โปรแกรมระบบปฏิบัติที่นิยมใช้ได้แก่ Microsoft Windows ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่ Windows 95, Windows 98, Windows ME และ Windows XP หรือซอฟท์แวร์ประเภท Shareware เช่น Linux ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน

2.โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเรียกดูข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะทำหน้าที่ในการแปลภาษาที่ใช้เขียนเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ภาษา HTML และ JAVA มาแสดงผลที่จอภาพได้ ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สามารถดูข้อมูลในรูปข้อความ และกราฟฟิก ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) มากมายที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถเลือกใช้ได้ เช่น Internet Explorer, Netscape Communicator, Opera, MSN Browser, Neo Planet เป็นต้น

3.โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับการส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ของตนเอง เพียงแต่เข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์เหล่านั้นก็จะสามารถส่งจดหมายได้แล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้บริการรับส่งจดหมายของบางหน่วยงานที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แล้วให้พนักงานรับส่งจดหมายผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน แต่ไม่มีบริการของโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ที่คอมพิวเตอร์ของตนโดยเฉพาะ แล้วรับส่งจดหมายโดยผ่านโปรแกรมเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ Microsoft Outlook, Microsoft Exchange และ Eudora เป็นต้น

4.ปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการติดต่อสื่อสารอาจเป็นในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความคุยโต้ตอบกัน (Chat ) หรือพูดคุยกันโดยผ่านไมโครโฟนที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเห็นหน้าระหว่างพูดคุยกันได้ ซึ่งเรียกว่า Video Conference โปรแกรมที่ใช้สำหรับการสื่อสารเหล่านี้ ได้แก่ Microsoft Chat, ICQ, MSN Messenger, Pirch, Mirc, Yahoo Messenger เป็นต้น

5.โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งภาพและเสียง รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลประเภทมัลติมิเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Real Audio, Real Video, Windows Media Player เป็นต้น

การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ

 

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up

เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ

อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที

 

2.?การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

  1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
  2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
  3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่

ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up

 

3.?การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ

  1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
  2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
  3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
  4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

 

4.?การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

  1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
  2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5.?การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ

  1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
  2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่

  1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
  2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
  3. ค่าใช้จ่ายสูง

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,206 Today: 13 PageView/Month: 97

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...